ดร.ดวงแข บุตรกูล นักวิจัย มศว เพิ่มมูลค่าอัญมณี ด้วยเทคโนโลยีเครื่องไอออน แห่งแรกของโลก
ดร.ดวงแข บุตรกูล นักวิจัย มศว เพิ่มมูลค่าอัญมณี ด้วยเทคโนโลยีเครื่องไอออน แห่งแรกของโลก
ดร.ดวงแข บุตรกูล และคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เจ้าของงานวิจัยที่สร้างความตื่นตัวแก่วงการอุตสาหกรรมการค้าและการส่งออก ของตลาดอัญมณีไทยรวมทั้งแวดวงวิชาการ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพอัญมณีโดยเทคโนโลยีเครื่องเร่งลำอนุภาค โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งล่าสุดได้รับการคัดเลือกให้จัดแสดงเผยแพร่ภายในนิทรรศการงานแถลงผลงาน ครบรอบ 1 ปีของคณะรัฐบาล ซึ่งได้รับความสนใจเยี่ยมชมและให้กำลังใจจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีตลอดจนนักวิจัย นักวิชาการ กลุ่มผู้ค้าผู้ประกอบการ ตลอดวันที่ 23-25 ธันวาคม 2558 ณ ทำเนียบรัฐบาล
ดร.ดวงแข อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ คณะวิทยาศาสตร์ มศว นักวิจัยเจ้าของผลงาน เปิดเผยว่า “งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพพลอยตระกูลคอรันดัม โดยใช้เครื่องเร่งลำไอออน เป็นการอาศัยพลังงานจากกลไกการพุ่งชนของไอออนที่กำหนดเข้าไปกระตุ้นโดย ปราศจากความร้อนสูง ทำให้เพิ่มความใสสะอาดและสามารถเพิ่มหรือลดสีของพลอยได้ตามที่ตลาดต้องการ โดยไม่มีการทำลายโครงสร้างหรือผิวพลอย
งานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นการศึกษาในแง่วิชาการที่เกี่ยวกับอันตรกิริยา ระหว่างไอออนที่มีพลังงานจลน์กับระบบผลึกที่มีความซับซ้อนสูงแล้ว ยังมุ่งหวังเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นแห่งแรกของโลก จนได้รับการกล่าวถึงในรายงานของสถาบัน GIA ประเทศสหรัฐอเมริกาว่าเป็นเทคนิคใหม่ที่น่าสนใจ
ในกรณีที่พลอยทับทิม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือพบว่าการเกิดไอออนเหนี่ยวนำของไอออนออกซิเจนและ ไนโตรเจน เกิดปฏิกิริยา Oxidation-Reduction ของธาตุโลหะทรานซิซั่น ทำให้พลอยทับทิมใสขึ้น ลดมลทิน (inclusion) ที่อยู่ภายใน โดยไอออนออกซิเจนและไนโตรเจนเหนี่ยวนำทำให้ได้พลอยทับทิมที่มีสีออกม่วงสวย งาม และพลอยมีสีแดงเข้มมากขึ้นตามลำดับ สำหรับพลอยสีน้ำเงิน (blue sapphire) สามารถยิงไอออนเพื่อเพิ่มหรือลดสีน้ำเงินได้ด้วยการยิงไอออนไนโตรเจนหรือ ออกซิเจนไปที่พลอยสีน้ำเงินปนเขียวที่ตลาดไม่นิยม ให้เปลี่ยนเป็นน้ำเงินเข้มสดได้โดยการใช้ไอออนกระตุ้นให้คู่ธาตุเหล็กและ ไทเทเนียมที่ให้สีเหลือง เปลี่ยนเป็นให้สีน้ำเงิน และพลอยสีขาวขุ่น สามารถทำให้ใสขึ้นได้โดยการสลายมลทินขนาดเล็กด้วยลำไอออน ซึ่งเมื่อนำมาเจียระไนแล้วสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องประดับทดแทนเพชรได้ มูลค่าจึงสูงขึ้น
เรานำตัวอย่างงานมาจัดแสดงด้วยคือชิ้นงานที่เรียกว่า พลอยแกมเพชร เป็นนวัตกรรมและเหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบพลอยสังเคราะห์ก็ขอแนะนำให้เลือกพลอย ไทย พลอยสีขาวที่ผ่านกระบวนการยิงไอออนแล้วก็มีรูปลักษณ์และมีมูลค่าเทียบเคียง ได้กับเพชรเลยทีเดียว คือเราสามารถเปลี่ยนอัญมณีที่ดูไม่มีค่า คล้ายก้อนหินก้อนกรวดขี้เหร่ๆ ให้กลายเป็นเครื่องประดับที่มีคุณค่ามีราคา ก่อนทำกับหลังทำจะเป็นคนละอย่างกันเลย เราใช้อัญมณีพวก sapphire ซึ่งเป็นพวกตระกูลราคาแพง เหมาะสมกับการเพิ่มมูลค่า เราได้พลอยราคาถูกมาเราก็ไปลงทุนกับเครื่องมือ การที่เราไปหาพลอยอยู่เรื่อยๆ ก็ไม่มีมากอยู่แล้ว แต่ว่าเราก็จะไปลงทุนที่เครื่องมือ มันแพง ก็ได้ผลลัพธ์เหมือนกัน
(อ่านข่าวเพิ่มเติม)
ขอขอบคุณ -ข่าวประชาสัมพันธ์
ภัทรพร หงษ์ทอง / ข่าว-ภาพข่าว
ศูนย์สารสนเทศและการประชาสัมพันธ์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มช. ร่วมกับสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ (อัญมณีและเครื่องประดับ) คณะวิทยาศาสตร์ มศว ผลิตเครื่องยิงไอออนเข้าสู่พลอยอัญมณี เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับพลอยได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของโลก โดยไม่ผ่านกระบวนการเผา และใช้เวลาทำน้อยกว่าเดิมสามเท่าตัว
(ขอบคุณข่าวจากเว็บไซต์เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th/article/367010)