Search
× Search

 

 

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)

 

 

คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

      ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย:  หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

    ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Education Program in General Science

 

    ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

    ภาษาไทย:  ชื่อเต็ม  การศึกษาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ทั่วไป)

                         ชื่อย่อ   กศ.บ. (วิทยาศาสตร์ทั่วไป)

     ภาษาอังกฤษ:  ชื่อเต็ม Bachelor of Education (General Science)

                       ชื่อย่อ  B.Ed. (General Science)

 

  ปรัชญา วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้

 

  ปรัชญาการศึกษาของหลักสูตร

    ผลิตครูเชี่ยวชาญศาสตร์การสอนวิทยาศาสตร์ สร้างสรรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้

 

  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

      เพือผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติ ดังนี้

 

    1. มีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิชาชีพครู และมีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับผู้เรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

     2. มีความเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพครูเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้

   3. มีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยทางการศึกษา วิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา และทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

      4. มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกสาธารณะ จรรยาบรรณ และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู

      5. มีสมรรถนะของความเป็นครูในด้านความรู้ ศาสตร์การสอน ประสบการณ์วิชาชีพครู และ การปฏิบัติหน้าที่ครูตามมาตรฐานวิชาชีพครู

 


ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

     เมื่อนิสิตจบการศึกษาจะสามารถ


   1. ใช้ภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ การสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม มีมุมมองเชิงธุรกิจ แสดงออกถึงความมีจิตสำนึกสาธารณะและปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในฐานะพลมืองและพลเมืองดิจิทัลได้

    2. จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน โดยบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้ ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยรูปแบบที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้

    3. เสริมสร้างทักษะทางอารมณ์และสังคมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง และความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายได้

    4. ปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรในสถานศึกษาและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ตนเอง ชุมชน และวิชาชีพได้

    5ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ทั่วไป บูรณาการศาสตร์การสอน และเทคโนโลยี เพื่อจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้

    6.  สร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และใช้กระบวนการวิจัยวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้เรียน ตนเอง ชุมชน และวิชาชีพได้


 

ความสำคัญของหลักสูตร

     ปัจจุบันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศและระดับสากลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นกำลังคนภายในประเทศต้องมีการปรับตัวเพื่อสามารถแข่งขันในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วยการเพิ่มกำลังคนที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม บูรณาการความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 –2570) ได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ สู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม สอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการเน้นให้ผู้เรียนมุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านสังคมออนไลน์ นำไปสู่ Smart Farmer  Smart Startup และแรงงานเฉพาะทาง ทำให้สังคมไทยก้าวสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการนำเข้า และเป็นสังคมที่แบ่งปัน ในส่วนของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญต่อการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 โดยมีบทบาทที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนในชาติ และพัฒนางานวิจัยเพื่อให้เกิดความรู้และนวัตกรรม นำไปสู่ถึงเศรษฐกิจและสังคม 4.0 เท่าทันความทันสมัย ไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) จากสถานการณ์ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรม มีความรอบรู้และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงควรตอบสนองพันธกิจเพื่อเตรียมทรัพยากรบุคคลให้รองรับต่อการพัฒนาประเทศ และการจัดการศึกษาต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีสถาบันการศึกษาและครูเป็นกลไกสำคัญ ในการจัดการศึกษาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตครูที่มีความรู้ ความสามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม สามารถจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ร่วมกับความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ดังนั้น การผลิตครูวิทยาศาสตร์ทั่วไป จึงมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ระดับชาติและสากล

     การพัฒนารากฐานทางการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการถ่ายทอดหลักการทางความคิดจิตวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนามาตรฐานกระบวนการเรียนรู้ และการจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำการเรียนรู้หลักการเปลี่ยนเป็นกระบวนการคิด และกระบวนการทางสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มีการรวมสาขาวิชาพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับกระบวนทัศน์ของวิชาชีพครู ศาสตร์การสอน เพื่อมุ่งพัฒนาความเป็นเลิศทางการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยการบูรณาการสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพครูและหลักการกลไกธรรมชาติของแต่ละรายสาขาวิชา ให้มีความสอดคล้องกันและให้สามารถเข้าใจวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ ได้ ในปัจจุบันหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุงตัวชี้วัด พ.ศ.2560) สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2562 (หลักสูตร 4 ปี) ตามที่
คุรุสภากำหนดต้องมีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้ในเนื้อหา การจัดการเรียนรู้ คุณลักษณะความเป็นครู และความสัมพันธ์ชุมชนสอดคล้องกับปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์การผลิต และการพัฒนาครูแนวใหม่ของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับครูรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพทางวิชาการที่ลุ่มลึก และทันสมัย ศรัทธาและมีเจตคติที่ดีในความเป็นครูอย่างแท้จริง มีความรู้และสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์เป็นสำคัญ นำไปสู่การเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ที่ก้าวทันเทคโนโลยี สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ
บูรณาการการสอนสู่การทำวิจัยและบริการวิชาการได้

     การผลิตครูของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นการผลิตร่วมกันระหว่างคณะที่สอนวิชาเอก เช่น คณะวิทยาศาสตร์ สอนด้านวิทยาศาสตร์ ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ ผู้รับผิดชอบการผลิตบัณฑิตทางการศึกษาให้ออกไปเป็นครูและปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาตามสถานศึกษาและในชุมชนต่างๆ จำเป็นต้องมีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาระดับการศึกษาบัณฑิตให้มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ สามารถแก้ไขปัญหาและสามารถรองรับกับการปฏิรูปทางการศึกษาที่เกิดขึ้น เป็นหลักสูตรที่สามารถผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถและลุ่มลึกในเชิงวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล สามารถตอบสนองความต้องการในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี ดังนั้นครูวิทยาศาสตร์ทั่วไป จึงเป็นสาขาวิชาที่มีความต้องการของประเทศ เนื่องจากการผลิตที่เน้นวิชาการ ทักษะกระบวนการ และ ทักษะการใช้ชีวิต รวมถึงการจัดการเรียนการสอนที่เน้นวิจัยเป็นฐาน ในรูปแบบวิชา สัมมนา โครงงานวิทยาศาสตร์ และ ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์ ทำให้นิสิตสามารถผลิตนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับอย่างเหมาะสม เนื่องจากครูวิทยาศาสตร์ทั่วไปสามารถจัดการเรียนรู้ได้ครอบคลุมในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย นิสิตของหลักสูตรได้รับการพัฒนาทั้งสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการเสริมสร้างความรู้เฉพาะด้านของสาขาวิชา  และนิสิตได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพครู ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะชีวิต เสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Live-Long Learning) รวมทั้ง
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง

     หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (หลักสูตร 4 ปี) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 ได้ดำเนินการมาถึงรอบของการปรับปรุงและเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของบัณฑิตถึงผลการเรียนรู้ที่บัณฑิตได้รับการพัฒนาว่ามีมาตรฐานและเป็นไปตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลักสูตรจึงมีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นจากนิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า ผู้บริหาร ผู้ใช้บัณฑิต และผู้เกี่ยวข้อง ถึงความต้องการ ความคาดหวัง เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นแนวทางในการนำไปปฎิบัติของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา รองรับความต้องการของสังคมและผู้ใช้บัณฑิต ทันต่อเหตุการณ์และเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมวิพากษ์และสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร ตัวแทนผู้บริหารสถานศึกษา ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรสายสนับสนุน โดยสรุปใจความสำคัญได้ว่าควรมีความลุ่มลึกในศาสตร์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป บูรณาการกับศาสตร์การสอน ทักษะการจัดการเรียนรู้ มีจรรยาบรรณวิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนได้ มีความสามารถในการทำปฏิบัติการ สร้างสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ออกแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตร และทำงานร่วมกับชุมชน นอกจากนี้หลักสูตรมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้เป็นไปตามความต้องการของสังคม และสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพครูตามที่คุรุสภากำหนด


                                                  สรุปแผนภาพการออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร กศ.บ.วิทยาศาสตร์ทั่วไป




                                                              ภาพ แสดงความสอดคล้องของ PLOs กับความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดของผลลัพธ์การเรียนรู้

 

1.  รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร เมื่อนิสิตจบการศึกษาจะสามารถ

  PLO1:   ใช้ภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ การสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง เหมาะสม มีมุมมองเชิงธุรกิจ แสดงออกถึงความมีจิตสำนึกสาธารณะและปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในฐานะพลมืองและพลเมืองดิจิทัลได้

   PLO2:   จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน โดยบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยรูปแบบที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้

    PLO3:   เสริมสร้างทักษะทางอารมณ์และสังคมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง และความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายได้

    PLO4:   ปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรในสถานศึกษาและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ตนเอง ชุมชน และวิชาชีพได้

    PLO5:   ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ทั่วไป บูรณาการศาสตร์การสอน และเทคโนโลยี เพื่อจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้

    PLO6:   สามารถสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และใช้กระบวนการวิจัยวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้เรียน ตนเอง ชุมชน และวิชาชีพได้

หมายเหตุ:  PLO1 เป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

     PLO2-4 เป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร ในหมวดวิชาชีพครู

     PLO5-6 เป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร ในหมวดวิชาเอก

 

สรุปผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรตามคุณวุฒิการศึกษา (5 ด้าน)

                                             

ผลลัพธ์การเรียนรู้

รายละเอียดของผลลัพธ์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ (K)

 

1.1 จดจำบทบาทหน้าที่ของความเป็นพลเมือง พลเมืองดิจิทัล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

1.2 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ การสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

1.3 ออกแบบงานที่สะท้อนถึงมุมมองทางธุรกิจได้

1.4 ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้

1.5 วิเคราะห์ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติและความแตกต่างของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย

1.6 วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จรรยาบรรณวิชาชีพ บทบาทหน้าที่ของครูและกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในบริบทจริงเพื่อช่วยเตรียมการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.7 วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาเพื่อจัดทำโครงสร้างรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตร

1.8 ออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยประยุกต์ใช้ความรู้เนื้อหาวิชา หลักสูตร ศิลป์และศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัล

1.9 เลือกใช้และ/หรือพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.10 ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.11 บริหารจัดการชั้นเรียนโดยจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขและความใฝ่รู้ใฝ่เรียนให้แก่ผู้เรียน

1.12 วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน

1.13 ใช้ภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสถานศึกษาและชุมชน

1.14 สังเกตและวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

1.15 สังเกตและวิเคราะห์การบริหารจัดการชั้นเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศทางกายภาพและจิตภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียน

1.16 ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อวิเคราะห์ ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล

1.17 จัดกิจกรรมโฮมรูมเพื่อทำความเข้าใจ คัดกรองและส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย 

1.18 ใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาเพื่อประเมิน ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียน โดยตระหนักถึงสุขภาวะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

1.19 สังเกตและวิเคราะห์สภาพ แวดล้อมและการบริหารจัดการในสถานศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครู

1.20 สังเกตและวิเคราะห์บทบาท หน้าที่ คุณลักษณะของครูและผู้บริหารสถานศึกษา บทบาทในการทำงานร่วมกับบุคลากรในโรงเรียน ชุมชนและ สังคม

1.21 มีส่วนร่วมในการจัดโครงการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน

1.22 จัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนและในบริบทวิชาชีพระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์

1.23 ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไปในการจัดการเรียนรู้

1.24 ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป

1.25 สืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

1.26 ออกแบบและพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์

1.27 สร้างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้

2. ด้านทักษะ (S)

 

ทักษะทั่วไป

2.1 ทักษะดิจิทัล

2.2 ทักษะการสื่อสาร (ฟัง พูด อ่าน เขียน)

2.3 ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

2.4 ความคิดสร้างสรรค์

2.5 ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

ทักษะเฉพาะ

2.6 ทักษะการสอนและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

2.7 ทักษะการดูแลและสนับสนุนผู้เรียน

2.8 ทักษะการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน

2.9 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.10 ทักษะการสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.11 ทักษะดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

2.12 การทำโครงงานวิทยาศาสตร์

2.13 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้

3. ด้านจริยธรรม (E)

 

3.1 มีความมุ่งมั่นรับผิดชอบ และยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริต

3.2 มีจิตสำนึกสาธารณะ

3.3 ยึดมั่นในจรรยาบรรณในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

3.4 ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู (ต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมประกอบอาชีพ และต่อสังคม)

3.5 เคารพความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

3.6 ปฏิบัติตนทางกาย วาจาและใจที่สะท้อนถึงความรักในสถาบันหลักของชาติ

3.7 ปฏิบัติตนตามข้อกฎหมาย ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กรและบริบททางสังคม

3.8 มีจริยธรรมในการทำวิจัย

4. ด้านคุณลักษณะ (C)

 

คุณลักษณะทั่วไป

4.1 รักการเรียนรู้

4.2 แสดงออกถึงบุคลิกภาพที่ดี เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์

4.3 ปฏิบัติตนในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองดิจิทัลได้เหมาะสม

4.4 แสดงออกถึงความเป็นผู้มีใจเปิดกว้าง มีเหตุมีผล และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่าง 

คุณลักษณะเฉพาะ

4.5 รับรู้ความรู้สึกผู้เรียนและตอบสนองอย่างเหมาะสม

4.6 กล้าแสดงออกทั้งในด้านการคิด การพูด และการกระทำ โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

4.7 ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลง

4.8 มุ่งมั่น และกระตือรือร้น ในการพัฒนาตนเองทางวิชาการและวิชาชีพ

4.9 เป็นต้นแบบในการจัดการอารมณ์ให้แก่ผู้เรียน

4.10 รับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร วิชาชีพและสังคม

4.11 มีจิตวิทยาศาสตร์

5. ด้านวิทยาการจัดการเรียนรู้ (L)

 

5.1 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ที่มีรูปแบบหลากหลาย และตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างสร้างสรรค์ทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย

5.2 มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกกลุ่มในสังคม (Universal Design) การออกแบบการเรียนรู้แบบเรียนรวมและการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Inclusion and Personalized Learning) อย่างมีนวัตกรรม

5.3 มีความเชี่ยวชาญในการจัด การเรียนรู้ในวิชาเอก โดยบูรณาการองค์ความรู้ ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน (TPCK)

5.4 มีความเชี่ยวชาญในการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) โดยการประยุกต์ใช้และผสมผสานความรู้ทางทฤษฎีที่ได้จากการเรียนกับประสบการณ์ การฝึกปฏิบัติในสถานศึกษาที่อยู่ในโลกการทำงานจริง

5.5 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป โดยบูรณาการองค์ความรู้ ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การสืบเสาะหาความรู้ สะเต็มศึกษา และ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และ สิ่งแวดล้อม


 

โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา และหน่วยกิต

 

1.  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตร

  1.1    จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร รวม 130 หน่วยกิต

  1.2    โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา

หน่วยกิต

1.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30  หน่วยกิต

2.  หมวดวิชาเฉพาะ

90 หน่วยกิต

     2.1  วิชาชีพครู

34 หน่วยกิต

     2.2  วิชาเอกบังคับ

50 หน่วยกิต

     2.3  วิชาเอกเลือก

6 หน่วยกิต

3.  หมวดวิชาเลือกเสรี

10  หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า

130 หน่วยกิต

 

 

สำหรับรายละเอียดของหลักสูตร สามารถดาวน์โหลดเอกสารหลักสูตรได้ โดย click ที่เล่มหลักสูตร ด้านบน

 

Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2024 by My Website
Back To Top